ปลาว่ายน้ำ

ยินดีต้อนรับสู่ดูบล็อกภาษาไทยคร้า :) ^^

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์
ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นส่วนหนึ่งของความจริงใจ  การที่เราจะมีความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น  เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองเสียก่อน  แท้จริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์หรอก  แต่ให้เป็นคนมีความจริงใจก็สามารถมีความซื่อสัตย์ได้แล้ว  เพราะเมื่อเรามีความจริงใจผลพลอยได้คือความซื่อสัตย์  การที่เรามีความซื่อสัตย์ต่อผ๔อื่นไม่ได้  ก็เพราะขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
ธรรมะว่าด้วยความซื่อสัตย์ก็มีลักษณะเหมือนธรรมะข้ออื่น  คือต้องทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นโดยเริ่มต้นที่ตนเองก่อน  คนถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเองแล้ว  โดยมักคิดว่าถ้าตนเองทำอะไรผิดแล้วปกปิดไว้มิให้คนอื่นล่วงรู้ในสิ่งที่ตนทำ  โดยมักจะคิดว่าถ้าไม่บอกว่าเราทำอะไรผิดบ้างคนอื่นก็จะไม่รู้  นี่คือความไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง  การทำให้ตนมีความซื่อสัตย์อย่างแท้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก  คนที่จะมีความซื่อสัตย์ได้นั้นต้องมีความจริงใจต่อตนเอง  ถ้าจะให้ดีคือต้องกล้าประจานความชั่วที่ตนมีต่อหน้าผู้อื่น  คนฟังยิ่งมากยิ่งดี  ถ้าเราทำได้รับรองว่าเราจะมีความซื่อสัตย์แน่นอน  แต่ถ้าทำไม่ได้ผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าจะเอาความซื่อสัตย์ต่อตนเองมาจากไหน  เมื่อเราไม่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองก็ไม่สามารถซื่อสัตย์ต่อผู้อื่นและส่วนรวมได้เลย
การจะเรียกร้องสิ่งใดจากผู้ใดจึงไม่ต้องไปเรียกร้องจากผู้อื่น  แต่ให้เริ่มต้นที่ตนเองทั้งสิ้น  หากอยากให้สังคมสงบแต่ละคนต้องทำวิปัสนากรรมฐาน  หากเราไปเรียกร้องจากคนอื่นให้คนอื่นเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ย่อมไม่อาจทำได้  ทุกคนต้องเรียกร้องเอาจากตนเองโดยถามว่าตนเองทำได้หรือยัง  การเรียกร้องสิ่งใดจากผู้อื่นคือการพึ่งคนอื่นอย่างกลาย ๆ  นี่เอง  การที่เราไปเรียกร้องให้คนอื่นทำนั่นหมายความว่าตนเองต้องทำให้ได้ตามนั้นเสียก่อน  เมื่อเราทำได้แล้วจึงมีความชอบธรรมในการเรียกร้องให้ผู้อื่นทำตามที่เราอยากให้ทำได้
การที่เราเรียกร้องสิ่งใดแล้วอยากให้สิ่งใดเกิดขึ้นกับสังคม  จึงต้องย้อนกลับมาดูที่ตนเองเป็นอันดับต้น  เพราะถ้าหากทุกคนสามารถทำให้ตนเองมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นได้  จะมีความจำเป็นที่จะต้องไปเรียกร้องความซื่อสัตย์ต่อสังคมหรือไม่  หากเราทุกคนรู้จักข้อบกพร่องแล้วแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองด้วยวิปัสนากรรมฐานโดยไม่เข้าข้างตนเอง  หากทุกคนทำได้จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องไปเรียกร้องความสงบสุขจากสังคม  หากเราจะเรียกร้องอะไรจากผู้อื่นและส่วนรวม  เราต้องมีความมั่นใจเสียก่อนว่าต้องทำเช่นนั้นให้ได้ก่อน  การพึ่งพาผู้อื่นจึงเป็นการปัดความรับผิดชอบในตน  เพราะแต่ละคนจะเกี่ยงให้คนอื่นเริ่มทำก่อน  เช่นคุณทำก่อน  เธอทำก่อน  แล้วผมค่อยทำ  แล้วทั้งคุณทั้งเธอทั้งหลายก็ย้อนกลับมาบอกให้ผมทำก่อน  เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมาก็ทำอะไรไม่ได้เสียที  ปัญหาเรื่องการขาดความซื่อสัตย์หรือการขาดคุณธรรมใด ๆ  ก็ตามให้พิจารณาให้ดีว่าเป็นเช่นนี้หรือไม่  ถึงแม้ผู้เขียนจะเขียนเรื่องความซื่อสัตย์  แต่หลักการนี้เป็นเครื่องชี้นำแล้วนำไปประยุกต์ใช้กับคุณธรรมข้ออื่นได้ด้วย
การจะทำให้สังคมดีคือการทำให้แต่ละคนเป็นคนดี  ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมจึงต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบในแต่ละคน  หากวันนี้เราจะไปเรียกร้องให้ผู้อื่นมีความซื่อสัตย์ต้องย้อนถามตนเองว่าตนเองมีความซื่อสัตย์แล้วหรือยัง  ด้วยเหตุนี้เราอยากได้สิ่งใดจึงต้องแสดงและทำสิ่งนั้นให้ผู้อื่นมองเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจไร้เจตนาแอบแฝงเสียก่อน  หากเราไปเรียกร้องให้ผู้อื่นทำกับเราก่อนยังเรียกร้องไม่ได้  แล้วจะไปเรียกร้องอะไรจากสังคมและส่วนรวมให้ต้องมีความซื่อสัตย์  รู้จักทำหน้าที่  ฯลฯ  นั่นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พระเวสสันดรชาดก ม.4/4 กลุ่ม 4

พระเวสสันดรชาดกหรือเทศน์มหาชาติ

เรื่องย่อ
       
ปฐมเหตุ         หลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์  ทำให้พระประยูรญาติละทิฐิยอมถวายบังคม   ก็บังเกิดฝนโบกขรพรรษพระภิกษุทั้งหลายจึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ตรัสเล่าว่า  ฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต  พระองค์จึงทรงแสดงธรรมเรื่อง  มหาเวสสันดรชาดกหรือเรื่องมหาชาติ   ทั้ง  ๑๓  กัณฑ์  ตามลำดับดังนี้  กัณฑ์ทศพร  กัณฑ์หิมพานต์   กัณฑ์ทานกัณฑ์  กัณฑ์วนปเวสน์  กัณฑ์ชูชก  กัณฑ์จุลพน  กัณฑ์มหาพน  กัณฑ์กุมาร  กัณฑ์มัทรี  กัณฑ์สักกบรรพ  กัณฑ์มหาราช   กัณฑ์ฉกษัตริย์  และกัณฑ์นครกัณฑ์
        กัณฑ์ที่    ทศพร  มี  ๑๙ พระคาถา
           กล่าวถึงปฐมเหตุที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาเล่าเรื่องมหาเวสสันดรชาดกแก่ภิกษุทั้งหลาย 
  นิโครธารามมหาวิหาร   โดยเริ่มเรื่องจากการกำเนิดพระนางผุสดีผู้ถวายแก่นจันทร์บดแด่พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง  และตั้งจิตปรารถนาว่า  ขอให้ได้เป็นพระพุทธมารดาในอนาคต  เมื่อได้บังเกิดในสวรรค์ได้เป็นมเหสีของพระอินทร์  ในกัณฑ์นี้กล่าวถึงพระนางผุสดีจะต้องจุติจากสวรรค์พระอินทร์จึงประทานพร  ๑๐  ประการให้พระนางผุสดี  ได้แก่  ๑.  ขอให้เกิดในกรุงมัทราช  แคว้นสีพี  ๒.  ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย  ๓.  ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง   ๔. ขอให้ได้นาม “ ผุสดี ”  ดังภพเดิม  
๕.  ขอให้มีพระโอรสเกริกเกรติที่สุดในชมพูทวีป   ๖.  ขอให้พระครรภ์งาม  ไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ   
๗.  ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง  ๘.  ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ  ๙.  ขอให้ผิวพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ   ๑๐.  ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้
        กัณฑ์ที่  ๒ หิมพานต์  มี  ๑๓๔  พระคาถา
          กล่าวถึงพระนางผุสดีซึ่งจุติจากสวรรค์ลงมาประสูติเป็นพระธิด่กษิตริย์มัทราช  และได้เป็นพระมเหสีพระเจ้ากรุงสญชัยแห่งแคว้นสีพี  พระนางผุสดีได้ประสูติพระเวสสันดรในขณะประพาสชมพระนคร  และขณะนั้นนางช้างฉัททันต์ก็ได้นำลูกช้างเผือกมาไว้ในโรงช้างต้น  ต่อมาลูกช้างเผือกตัวนั้นได้ชื่อว่า 
“ ปัจจัยนาเคนทร์ ”  มีคุณวิเศษ  คือ  ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  พระเวสสันดรใฝ่ใจในการบริจาคทาน  เมื่อได้เสวยราชสมบัติและอภิเษกกับพระนางมัทรีแล้ว ได้ตั้งโรงทานถึง    แห่ง  และเมื่อพระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์ให้กับชาวเมืองกลิงคราษฎร์  ซึ่งเป็นเมืองที่แห้งแล้ง  ข้าวยากหมากแพงมาหลายปี  ทำให้ชาวเมืองสีพีโกรธและเรียกร้องให้พระเจ้ากรุงสญชัยทรงลงโทษพระเวสสันดรพระเจ้ากรุงสญชัยจึงทรงเนรเทศพระเวสสันดรไปจากเมือง
       กัณฑ์ที่  ๓ ทานกัณฑ์ มี  ๒๐๘  พระคาถา
          เมื่อพระนางผุสดีทรงทราบว่าพระเวสสันดรถูกเนรเทศ  พระนางได้ทูลขอโทษ  แต่พระเจ้ากรุงสญชัยมิได้ตรัสตอบ  พระนางจึงเสด็จไปที่พระตำหนักพระเวสสันดรและทรงรำพันต่าง ๆ นานา
          รุ่งขึ้นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญสัตตสดกมหาทาน  แล้วจึงพาพระนางมัทรีและสองกุมารเข้าไปทูลลาพระเจ้ากรุงสญชัย  พระเจ้ากรุงสญชัยทรงห้ามพระนางมัทรีมิให้ติดตามไปด้วย  เพราะจะได้รับความลำบากในป่า  แต่พระนางมัทรีก็ทูลถึงเหตุผลอันเหมาะสมที่พระนางจะต้องตามเสด็จพระเวสสันดรในครั้งนี้  พระเจ้ากรุงสญชัยจึงขอสองกุมารให้อยู่กับพระองค์  แต่พระนางมัทรีก็ไม่ยินยอม  จากนั้นทั้งสี่พระองค์ก็เสด็จไปทูลลาพระนางผุสดี  รุ่งขึ้นพระเวสสันดรให้พนักงานเบิกแก้วแหวนเงินทองบรรทุกรถเสด็จออกจากเมือง  ทรงโปรยแก้วแหวนเงินทองเหล่านั้นเป็นทานแก่ยาจกโดยทั่วหน้า  แล้วจึงตรัสสั่งให้เสนาอำมาตย์กลับคืนมายังเมือง  ส่วนพระองค์พร้อมทั้งพระนางมัทรีและกัณหาชาลีก็มุ่งสู่ป่า  มีพราหมณ์มาทูลขอรถทรงและม้าทรง  พระองค์ก็ทรงบริจาคให้จนหมดสิ้น  พระเวสสันดรจึงอุ้มพระชาลีและพระนางมัทรีอุ้มพระกัณหาเสด็จพระดำเนินต่อไปด้วยพระบาท
        กัณฑ์ที่  ๔ วนปเวสน์  มี  ๕๗ พระคาถา
             กล่าถึงการเดินทางของพระเวสสันดรไปยังเขาวงกต  ซึ่งมีพระนางมัทรีและชาลีกัณหาอันเป็นพระโอรสและพระธิดาตามเสด็จด้วย  ได้พบกับเจ้าเมืองเจตราษฎ์  เจ้าเมืองเจตราษฎ์มอบพรานเจตบุตรเป็นผู้ดูแลมิให้ใครเดินทางไปรบกวนพระเวสสันดรในเขาวงกต
       กัณฑ์ที่    ชูชก  มี  ๗๙  พระคาถา
           กล่าวถึงพราหมณืผู้หนึ่งชื่อว่า ชูชก  เป็นคนเข็ญใจไร้ญาติเที่ยวเร่ร่อนขอทาน  จนกระทั่งถึงแก่ชราจึงรวบรวมเงินได้ถึงร้อยยกษาปณ์  เห็นว่าถ้าเก็บไว้กัยตัวก็จะป็นอันตราย  จึงนำไปฝากกับเพื่อนคนหนึ่งแล้วก็เที่ยวขอทานต่อไป  เวลาล่วงเลยมาหลายปี  เพื่อนผู้รับฝากเงินไว้เห็นว่าชูชกไม่กลับมาคงจะล้มตายไปแล้ว  จึงได้นำเงินที่ชูชกฝากไว้ไปจับจ่ายจนหมดสิ้น  เมื่อชูชกกลับมาเพื่อนคนนั้นไม่มีเงินให้จึงต้องยกลูกสาวชื่อนางอมตตดาให้เป็นภรรยาชูชก  นางอมิตตดาปรนนิบัติสามีตามหน้าที่ของภรรยาที่ดีทุกอย่าง  จนทำให้พราหมณ์อื่น ๆ ในหมู่บ้านนั้นตบตีดุด่าภรรยาของตนให้ประพฤติตามอย่างนางอมิตตดา  บรรดาภรรยาทั้งหลายต่างก็โกรธเคืองหาว่านางอมิตตดาเป็นต้นเหตุ  จึงพากันไปเยาะเย้ยถากถางนางอมิตตดาขณะที่นางลงไปตักน้ำที่ท่าน้ำทำให้นางอมิตตดารู้สึกอับอาย  จึงกลับมาบอกกับชูชกว่าต่อไปนี้นางจะไม่ทำงานอะไรอีก  ชูชกจะต้องไปหาข้าทาสมาให้นาง  มิฉะนั้นนางจะไม่อยู่ด้วย  เทพเจ้าได้เข้าดลใจนางให้แนะชูชกไปขอพระกัณหาชาลีมาเป็ฯทาส  ชูชกจำใจต้องไป  ก่อนออกเดินททางชูชกก็จัดการซ่อมแซมบ้านให้แข็งแรง  และให้โอวาทนางอมิตตดา  ส่วนนางก็จัดเสบียงที่จะเดินทางไว้พร้อม  ๙ชกแปลงเพศเป็นชีปะขาว  แล้วก็ออกเดินทาง  พบกับผู้คนที่ไหรก็สอบถามเรื่องพรเวสสันดรเรื่อยไป  พวกชาวเมืองโกรธคิดว่าชูชกจะต้องไปขออะไรจากพระเวสสันดรอีก  จึงช่วยกันทำร้ายชูชกจนต้องหนีกระเจิดกระเจิงเข้าป่าไป  เทวดาดลใจให้ชูชกเดินทางไปพบกับพราหมณ์เจตบุตรที่กษัตริย์เจตราษฎ์มอบหมายให้คอยดูแลมิให้ใครไปรบกวนพระเวสสันดร  ชูชกหลอกพรานเจตบุตรว่าบัดนี้พระชาชนชาวเมืองสีพีหายโกรธเคืองพระเวสสันดรแล้ว  พระเจ้าสญชัยใช้ให้เป็นทูตถือพระราชสาส์นไปเชิญเสด็จพระเวสสันดรกลับพระนคร  พรานเจตบุตรหลงเชื่อจึงบอกเส้นทางที่จะเข้าสู่เขาวงกตแก่ชูชก
        กัณฑ์ที่  ๖ จุลพน  มี  ๓๘  พระคาถา
          พรานเจตบุตรหลงกลชูชก ที่ไดชูกลักพริกขิงให้พรานดู    อ้างว่าเป็นพระราชสาส์นของพระเจ้ากรุงสญชัยจะนำไปถวายพระเวสสันดร  พรานเจตบุตรจึงได้ต้อนรับและเลี้ยงดูชูชกเป็นอย่างดีและได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี
        กัณฑ์ที่    มหาพน  มี  ๘๐  พระคาถา
           ชูชกเดินทางไปถึงอาศรมของพระอัจจุตฤๅษี  แล้วหลอกลวงพระฤๅษีว่า  ตนเคยคบหากับพระเวสสันดรมาก่อน  เมื่อพระองค์จากมานานจึงใคร่จะเยี่ยมเยียน  พระฤาษีหลงเชื่อจึงให้ชูชกพักแรมที่อาศรมหนึ่งคืน  รุ่งขึ้นก็อธิบายหนทางที่จะเดินทางว่า  จะต้องผ่านภูเขาคันธมาทน์และสระมุจลินท์ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ  กับพระอาศรมของพระเวสสันดร  ๙ชกจึงลาพระฤาษีเดินทางต่อไป
       

        กัณฑ์ที่    กุมาร  มี  ๑๐๑  พระคาถา
          ชูชกเข้าไปขอสองกุมาร  พระเวสสันดรพระราชทานให้  สองกุมารรู้ความจึงหนีไปอยู่ในสระบัว  พระเวสสันดรตามไปพูดจาให้สองกุมารเข้าใจ  สองกุมารจึงขึ้นจากสระบัว  ชูชกพาสองกุมารเดินทางโดยเร่งรีบด้วยเกรงว่า  หากพระนางมัทรีกลับจากหาผลไม้ก่อนจะเสียการ
        กัณฑ์ที่    มัทรี  มี  ๙๐ พระคาถา
          เมื่อชูชกพาสองกุมารออกไปพ้นพระอาศรมแล้ว  เทพทั้งปวงก็วิตกว่า  ถ้าพระนางมัทรีกลับมาแต่ยังวันก็จะรีบติดตามหาสองกุมารเป็นแน่  พระอินทร์จึงมีเทวบัญชาให้เทพสามองค์จำแลงเป็นเสือและราชสีห์ไปขว้างทางเดินของพระนางมัทรีไว้  ส่วนพระนางมัทรีรู้สึกเป็นทุกข์ถึงสองกุมารเป็นอันมาก  เก็บผลไม้ตามแต่จะได้แล้วก็รีบกลับพระอาศรม  มาพบสัตว์ทั้งสามขวางหน้าอยู่ก็วิงวอนขอทาง  จนพลบค่ำสัตว์ทั้งสามจึงหลบทางให้  เมื่อมาถึงพระอาศรม  พระนางมองหาสองกุมาร  แต่ไม่พบ  จึงไปถามพระเวสสันดร  พระเวสสันดรเกรงว่าถ้าบอกไป  พระนางมัทรีจะโศกเศร้ามากยิ่งขึ้นไปอีก  จึงแสร้งพูดแสดงความหึงหวงขึ้นเป็นทำนองระแวงที่นางกลับมาจนมืดค่ำ  พระนางมัทรีเจ็บใจก็คลายความโศกลง  เที่ยวตามหาสองกุมารไปทุกหนทุกแห่ง  แต่ไม่พบจึงกลับมายังพระอาศรมของพระเวสสันดร  แล้วสลบไปด้วยความโศกเศร้าและสิ้นแรง  เมื่อพระเวสสันดรแก้ไขจนพระนางฟื้น  พระเวสสันดรจึงเล่าให้ฟังว่าได้บริจาคบุตรเป็นทานแก่พราหมณ์เฒ่าไปแล้ว  พระนางมัทรีก็มิได้เศร้าโศก  แต่กลับชื่นชมกับมหาบริจาคทานของพระเวสสันดรด้วยศรัทธาอันเปี่ยมล้น
        กัณฑ์ที่  ๑๐  สักกบรรพ  มี  ๔๓  พระคาถา
           พระอินทร์เกรงว่าหากมีใครมาขอพระนางมัทรีจากพระเวสสันดร  ก็จะทำให้พระเวสสันดรบำเพ็ญภาวนาไม่สะดวก  ด้วยไม่มีผู้คอยปนนิบัติ  ดังนั้พระอินทร์จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์เฒ่าลงมาขอและได้ให้พรแปดประการแก่พระเวสสันดร  รวมทั้งยังฝากฝังพระนางมัทรีไว้ให้อยู่ปรนนิบัติพระเวสสันดรด้วย
       


        กัณฑ์ที่  ๑๑  มหาราช  มี  ๖๘  พระคาถา
           เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่   ชูชกผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้   ส่วนตนปีนขึ้นไปนอนบนต้นไม้  เหล่าเทพเทวดาจึงแปลงกายลงมาปกป้องสองกุมารให้เดินทางถึงกรึงสีพีโดยปลอดภัย     ขณะเดียวกันพระเจ้ากรุงสีพีเกิดนิมิตฝัน  ซึ่งตามคำทำนายนั้นนำมายังความปิติปราโมทย์แก่พระองค์ยิ่งนัก
            เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้า  พระเจ้ากรุงสีพีก็ทอดพระเนตรเห็นชูชกและกุมารทั้งสองพระองค์  ครั้นทรงทราบความจริง  พระองค์จึงทรงพระราชทานค่าไถ่คืน   หลังจากนั้นชูชกก็ถึงแก่ความตายเพราะกินอาหารมากเกินขนาด  แล้วพระชาลีก็ทูลพระเจ้ากรุงสีพีเพื่อขอให้ไปรับพระบิดาและพระมารดาให้นิวัติคืนพระนคร  ในขณะเดียวกันเจ้านครกลิงราษฎร์ได้คืนช้างปัจจัยนาเคนทร์แก่นครสีพี
        กัณฑ์ที่  ๑๒  ฉกษัตริย์  มี  ๓๖  พระคาถา
           พระเจ้ากรุงสญชัยยกทัพไปรับพระเวสสันดร  โดยใช้เวลา    เดือน กับ  ๒๓  วัน  จึงเดินทางถึงเขาวงกต  เสียงโห่ร้องของทหารทั้งสี่เหล่าทำให้พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมาโจมตีนครสีพีจึงชวนพระนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขา  พระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดาจึงได้ตรัสทูลพระเวสสันดร  แต่เมื่อทั้งหกกษัตริย์ได้พบกัน  ทรงกันแสงสุดประมาณ  รวมทั้งทหารเหล่าทัพำให้ป่าใหญ่สนันครั่นครืน  พระอินทร์จึงได้ทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมาประพรมหกกษัตริย์ให้หายโศกเศร้าและฟื้นพระองค์
        กัณฑ์ที่  ๑๓  นครกัณฑ์  มี ๔๘  พระคาถา
          กษัตริย์ทั้งหกยกพลกลับคืนพระนคร  หลังจากที่พระเจ้ากรุงสญชัยตรัสสารภาพผิด  พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรี  เมื่อเสด็จถึงนครสีพีจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง  ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตว่า  รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน  พระองค์จะประทานสิ่งใดให้แก่ประชาชน  ท้าวโกสีย์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว    ประการ  ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง  พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนมาขนเอาไปตามปรารถนา  ที่เหลือให้ขนเข้าพระคลังหลวง
           ในกาลต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรม  บ้านเมืองร่อเย็นเป็นสุขตลอดตามชนมายุ